สรุปเนื้อหาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : ASEAN

(องค์กรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค)

(ASEAN: Association of South East Asian Nations)

     

1. ความหมายของสัญญาลักษณ์อาเซียน

      - รวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกัน หมายถึง มิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งน้ำใจเดียวกัน

      - สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

      - สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

      - สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

          2. ประวัติการก่อตั้งอาเซียน

- พ.ศ. 2504

               : ไทย + มาเลเซีย + ฟิลิปปินส์ ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA) เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ยุติลง เพราะมีปัญหาทางด้านการเมืองในมาเลเซียและฟิลิปปินส์

            - พ.ศ. 2510

           : นายถนัด คอมันตร์  รมต.ต่างประเทศของไทย ซึ่งถือว่าได้ว่าเป็นผู้เริ่มก่อตั้งอาเซียนในช่วงแรก ได้ลงนาม “ปฏิญญากรุงเทพ” จัดตั้งความรวมมือทางเศรษฐกิจขึ้น มีประเทศสมาชิกลงนาม 5 ประเทศ คือ ไทย , มาเลเซีย , ฟิลิปปินส์ , สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการ ต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร  ต่อมา

           - บรูไน ดารุสซาลาม  ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกวันที่ 8 มกราคม 2527

           - เวียดนาม               ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกวันที่ 28 กรกฎาคม 2538

           - ลาวและพม่า           เข้าร่วมเป็นสมาชิกวันที่ 23 กรกฎาคม 2540

           - กัมพูชา                 เข้าร่วมเป็นสมาชิกวันที่ 30 เมษายน 2542

  ปัจจุบัน ประชาคมอาเซียน จึงมี ประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา

3. เป้าหมายหลักอาเซียน

          จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยมของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาค

4. คำขวัญอาเซียน

          One Vision, One Identity, One Community (หนึ่ง วิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

5. เพลงอาเซียน

          The ASEAN Way

6. สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

          สำนักงานใหญ่ของอาเซียน ตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย (จัดตั้งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับการประชุมอาเซียนครั้งที่ 1) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และระหว่างประเทศสมาชิกคู่เจรจา มีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าสำนักงาน

7. ประเทศสมาชิกในอาเซียน (เรียงตามขนาดพื้นที่ของประเทศจากใหญ่-เล็ก)

          มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย พม่า ไทย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ลาวกัมพูชา บรูไนดารุสซาลาม และสิงคโปร์

8. ความร่วมมือของอาเซียนกับกลุ่มอื่น ๆ

          คือ การเจรจากับคู่เจราที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน เช่น คู่ค้า , องค์กรอื่นๆ โดยอาเซียนเริ่มมีการเจรจากับคู่ค้าครั้งแรก คือ สหภาพยุโรป (EU) ในปี พ.ศ. 2515 ปัจจุบันอาเซียนมีความร่วมมือนอกกลุ่ม 9 ประเทศ และ 1 องค์กร คือ 

จีน , เกาหลีใต้ , ญี่ปุ่น , สหรัฐอเมริกา , อินเดีย , ออสเตรเลีย , นิวซีแลนด์ , แคนาดา , รัซเซีย และสหภาพยุโรป

 

  - คู่เจรจา มีดังนี้

อาเซียน + 3

อาเซียน + จีน + เกาหลีใต้ + ญี่ปุ่น

อาเซียน + 6

อาเซียน + จีน + เกาหลีใต้ + ญี่ปุ่น + อินเดีย + ออสเตรเลีย + นิวซีแลนด์

อาเซียน + 8

อาเซียน + จีน + เกาหลีใต้ + ญี่ปุ่น + อินเดีย + ออสเตรเลีย + นิวซีแลนด์ + อเมริกา + รัสเซีย

 

 

 

9. ประชาคมอาเซียน มีความร่วมมือ ๓ ด้าน หรือ ๓ เสาหลัก (pillars) คือ

    1. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community- ASC)

          มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึด มั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน

    2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community- AEC)

          มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคงมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้

    3. สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)

          1. การพัฒนามนุษย์

          2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม

          3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

          4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

          5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

          6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา